เมื่อวันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 คณาจารย์และศิษย์เก่าจากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมงาน “อรุณ สรเทศน์ รำลึก 2568” ณ หอประชุมวิศวฯ จุฬาฯ “HALL OF INTANIA” ชั้น 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมประกาศความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) และภาคีเครือข่าย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างหลักสูตรการอบรม และแนวปฏิบัติที่ดี ควบคู่กับการบริหารจัดการข้อมูล ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity building) ให้กับบุคลากรในองค์กรในด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมให้บุคลากรและองค์กรต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายของการเป็นสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน นอกจากนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน มีการติดตั้งระบบ OAU (Outside Air Unit) ในทุกห้องเรียน ห้องประชุม และห้องปฏิบัติการ เพื่อกรองอากาศลดปริมาณฝุ่นให้อากาศสะอาดเข้าสู่ห้อง รักษาความดันอากาศภายในห้องให้เป็น positive pressure เมื่อเทียบกับความดันอากาศภายนอกห้อง และเพิ่มอัตราการถ่ายเทของอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโรคจากละอองลอยในอากาศ และมีระบบตรวจวัดและแจ้งข้อมูลคุณภาพอากาศตามมาตรฐานค่าเฉลี่ยรายวัน รวมถึงค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง เพื่อการดูแลสุขภาพของนิสิตและบุคลากรในภาควิชาฯ

ในวันที่ 9 ธันวาคม 2567

ณ อาคารรัฐสภา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ได้แก่ รศ. ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล รศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ ผศ. ดร.ศรัณย์ เตชะเสน และ อ. ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ได้เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง “การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มีจุดประสงค์เพื่อ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ เข้าใจหลักการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดงานโดย คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ…

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ Zero Construction Wastes and Upcycling Products ร่วมกับ บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฤทธา จำกัด

. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) โดยนางสุนันทา สิ่งสรรเสริญ กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และนายมณเฑียร ยิ่งดำนุ่น กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ร่วมกับ บริษัท ฤทธา จำกัด โดยคุณปณิธาน เทพนิกร กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม และคุณเพชรรัตน์ เพชรดี กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.นภดนัย…

ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมสัมมนา หัวข้อ “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด" ณ ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรประกอบด้วยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมของทางภาควิชา ได้แก่ รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน พร้อมด้วย อ.ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์…

ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ได้เข้าร่วมงาน The 22nd Conference on International Exchange of Professionals CIEP 2024 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ให้การต้อนรับคณะจาก

JAIMA (Japan Analytical Instruments Manufacturers’ Association), JEMIMA (Japan Electric Measuring Instruments Manufacturers’ Association) และ Fukuoka Institute of Health and Environmental Sciences ก่อนเข้าร่วมงาน Symposium on Environmental Pollution Control โดยมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการของศูนย์ความเป็นเลิศฯ…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา“ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด” ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

วิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อ.ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ รศ.ดร. ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการสารอันตรายและสิ่งแวดล้อม ดร.องอาจ ธเนศนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ทำความรู้จักและเข้าใจถึงสารประกอบ PFAS ให้มากขึ้น รวมไปถึงความอันตรายและระดับความรุนแรงของการปนเปื้อนในปัจจุบัน เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนทราบถึงปัญหา PFAS และกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งการออกข้อกำหนด…

วันที่ 25 เมษายน 2567

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี และ รองศาสตราจารย์ ดร.เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ ให้การต้อนรับ คณะครู และนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยการนำชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ พร้อมทั้งการแนะภาควิชา และ สาธิตการทดลองภายในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

On March 23, 2024, Assoc. Prof. Dao S.Janjaroen, Ph.D. led researchers and graduate students from the Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering and International Program in Hazardous Substance and Environmental Management (IP-HSM), Chulalongkorn University to participate in the Mangrove Clean up at The Nature Education Center for Mangrove Conservation and Ecotourism, Chonburi Province. The activity is a collaboration between the Department of Marine and Coastal Resources, DENSO International Asia Co., Ltd, Green World Foundation, and Professor Aroon Sorathesn Center of Excellence in Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University and private sectors. This activity also follows the Sustainable Development Goals (SDGs) #goal13 #goal14 #goal15

🌍 Climate Action ทุกคนมีส่วนสำคัญมากในการแก้ไขและรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

🎯 ผู้นำที่มุ่งมั่น กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน...ผู้ตามที่เข้าใจความสำคัญและนำแนวทางที่เหมาะสมมาใช้กับแต่ละท้องถิ่น แสวงหาร่วมมือกันและโอกาสความร่วมมือจากภาควิชาการ เอกชนและองค์กรต่างๆ เพื่อใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีมาส่งเสริมสนับสนุนให้ทำสร้างความก้าวหน้าในได้อย่างดี 💡ส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรที่ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้เน้นให้นิสิตได้เรียนรู้ และได้รับจากวิทยากรรับเชิญมาบรรยายและแชร์ประสบการณ์ในการทำงานขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการขยะชุมชนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของชุมชนท้องถิ่นของไทย สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย

ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ หัวข้อ "เรื่องที่วิศวกรสิ่งแวดล้อมควรรู้ แต่ยังไม่รู้" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ให้กับนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทำให้นิสิตได้รับความรู้ เกี่ยวการดำเนินงาน การทำงานในฐานะวิศวกรสิ่งแวดล้อม ในด้านมลพิษทางอากาศ น้ำ ขยะ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้มีการคิดวิเคราะห์ให้รอบคอบของการกระทำต่างๆ โดยอาศัยหลักการของการทำได้จริงประกอบ

สถานการณ์โอกาสและความท้าทาย ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมือง

โดย ดร.คณวัฒน์ เปาอินทร์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://drive.google.com/drive/folders/1xAexHDeA3EQ402NRIcyShuEq7Stmkuse?usp=sharing

31 ตุลาคม 2566

รองศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี นำนิสิตระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2107311 ชีววิทยาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัทสยามคราฟท์​อุตสาหกรรม​ จำกัด อ.บ้านโป่ง​ จังหวัด​ราชบุรี​ ซึ่งการทัศนศึกษา ณ สถานที่จริงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะช่วยให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาได้ดียิ่งขึ้น

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อ “ครอบครัวปัทมาภิรัต”และ…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อ “ครอบครัวปัทมาภิรัต” และร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ รองศาสตราจารย์วีรวรรณ ปัทมาภิรัต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดเชตุพน บ้านสันโค้งน้อย จังหวัดเชียงราย สวดพระอภิธรรม วันที่ 20-21 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. ฌาปนกิจ วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 12.00 น.  

📢องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา ประชาสัมพันธ์ขอเชิญสมัครเข้าร่วมการอบรมในหลักสูตร “การนำน้ำกลับมา…

📢องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญสมัครเข้าร่วมการอบรมในหลักสูตร “การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ – เทคโนโลยีและมาตรฐาน” และหลักสูตร “การผลิตถ่านชีวภาพเพื่อรับมือภัยแล้งและน้ำเค็มรุกล้ำในพื้นที่เกษตรกรรม” ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา #หลักสูตร “การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ – เทคโนโลยีและมาตรฐาน” ค่าลงทะเบียน 700 บาท/ท่าน อบรมวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น.…

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม…

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ ร่วมออกบูธโครงการพัฒนาความมั่นคงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Smart Environmental Database Management Platform) ภายในงาน “ความร่วมมือสู่ความสําเร็จ (Partnership for Success)”` ที่จัดโดยสำนักงาน คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ สำนักงานป.ย.ป. ณ โรงแรม Grand Fortune Hotel…