เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 30 “จุฬาฯ ระดมคิด พลิกวิกฤต PM2.5” เสนอแนวทางรับมือและร่วมแก้ไขวิกฤต PM2.5 เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาทางวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 30 ภายใต้หัวข้อ “จุฬาฯ ระดมคิด พลิกวิกฤต PM2.5” เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 ณ เรือนจุฬานฤมิต ระดมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนองานวิจัย เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อน สื่อสารชี้นำสังคม และสนับสนุนมาตรการ นโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ลดผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยมี ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร…

ร่วมขับเคลื่อนแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศจากฝุ่น PM2.5 จากคณาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ

(calendar) ในวันพุธที่ 29 มกราคม 2568 (clock) เวลา 10.00 – 12.00 น. (thumbtack) ณ เรือนจุฬานฤมิต (hand pointing right) หรือ รับชมถ่ายทอดสดได้ทาง https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity

🌟 CHULA THE IMPACT ครั้งที่ 30

“จุฬาฯ ระดมคิด พลิกวิกฤต PM2.5” . ✨ รวมตัวผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมสนับสนุนนโยบายการป้องกันมลพิษทางอากาศ . 💫 พบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมขับเคลื่อนสังคม ได้แก่ • ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ (Opening Remark) • อ.ดร.พญ.ภัทราวลัย สิรินารา คณะแพทยศาสตร์ • รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ • รศ.ดร.ทรรศนีย์ เจตน์วิทยาชาญ…

แนวคิดการมีส่วนร่วมของจุฬาฯ ในการจัดการรับมือกับปัญหา PM2.5 ในกรุงเทพ

โดย รศ. ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อ. ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 คณาจารย์และศิษย์เก่าจากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมงาน “อรุณ สรเทศน์ รำลึก 2568” ณ หอประชุมวิศวฯ จุฬาฯ “HALL OF INTANIA” ชั้น 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมประกาศความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) และภาคีเครือข่าย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างหลักสูตรการอบรม และแนวปฏิบัติที่ดี ควบคู่กับการบริหารจัดการข้อมูล ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity building) ให้กับบุคลากรในองค์กรในด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมให้บุคลากรและองค์กรต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายของการเป็นสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน นอกจากนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม…

จะลดปัญหามลพิษอากาศ จราจร และเศรษฐกิจสังคม ด้วยมาตรการเดียวได้อย่างไร

โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ | มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/environment/1163392

30 ม.ค.นี้ เจอกันทางออนไลน์! เปิดประตูสู่ความรู้ ฟรี! กับหัวข้อ 🔥วิกฤตสภาพภูมิอากาศ: ความจริงที่ธุรกิจไม่อาจมองข้าม🔥

เพจคาร์บอนน้อยพร้อมเปิดคลาสแรกของการอบรมโครงการ “เสริมศักยภาพธุรกิจอาหาร: การประเมินคาร์บอนเพื่อความสำเร็จในยุคใหม่” มาร่วมกันสร้างความเข้าใจวิกฤตและโอกาสของภาคเกษตรและอาหาร ในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero และเข้าใจการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) ที่มีส่วนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ 📅 ครั้งที่ 1: วันที่ 30 มกราคม 2568 เวลา 10.00-12.00น. 🖥️ Online Training (Zoom) จำนวน 100 ท่าน 📝 ดูรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1EUkD225TwYIpIzlFElyiPmibDoAAfPAd?fbclid=IwY2xjawH9tzlleHRuA2FlbQIxMAABHUlmpXY2mNe3oiDnDRMeiaHhazm7b6ZRJOj_I5AkpHFpm6Jifs28MRWh8w_aem_Ch-rumcu5B9L-TKZnNnM4Q ✏️…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน มีการติดตั้งระบบ OAU (Outside Air Unit) ในทุกห้องเรียน ห้องประชุม และห้องปฏิบัติการ เพื่อกรองอากาศลดปริมาณฝุ่นให้อากาศสะอาดเข้าสู่ห้อง รักษาความดันอากาศภายในห้องให้เป็น positive pressure เมื่อเทียบกับความดันอากาศภายนอกห้อง และเพิ่มอัตราการถ่ายเทของอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโรคจากละอองลอยในอากาศ และมีระบบตรวจวัดและแจ้งข้อมูลคุณภาพอากาศตามมาตรฐานค่าเฉลี่ยรายวัน รวมถึงค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง เพื่อการดูแลสุขภาพของนิสิตและบุคลากรในภาควิชาฯ

มูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ จัดกิจกรรมกอล์ฟการกุศลประจำปี กำหนดปี พ.ศ. 2568 นี้ เป็นครั้งที่ 21 โดยจัด ณ สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา ในวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2568

ขอเชิญทุกท่านสนับสนุน โดยสามารถส่งทีมร่วมแข่งขันกอล์ฟการกุศลในครั้งนี้ โดยมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ เป็นมูลนิธิการกุศล ให้การสนับสนุนทุนการศึกษานิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นประจำทุกปี ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 7 ทุน ต่อปี โดยสนับสนุนต่อเนื่องทุกภาคการศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่สองจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี และจนจบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และในช่วงการระบาดของโรคโควิด มูลนิธิยังมอบทุนการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ประสบความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากการให้ทุนการศึกษา มูลนิธิยังจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นประจำทุกปี และยังให้ทุนสนับสนุนการดำเนินการด้านวิชาการและด้านวิจัยของคณะอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี พ.ศ. 2562 มูลนิธิมอบเงินทุนประเดิม 5 ล้านบาท ในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ…

วันเด็กปีนี้ 11 มกราคม 2668 หลายพื้นที่ในกทม. มีคุณภาพอากาศดีขึ้นหลังจากจมฝุ่นมาหลายวันด้วยอากาศปิดตามฤดูกาล(อีกแล้ว) ที่วันนี้อากาศดีขึ้นแน่นอนจากอากาศเปิด(พระพายช่วยเราได้อีกแล้ว) ที่ว่าอากาศดี เรารู้ได้อย่างไร ใช้เกณฑ์อะไร และข้อมูลอะไรในการตัดสินคุณภาพอากาศว่าดีหรือไม่ ตรงไปตรงมาก็ข้อมูลการตรวจวัดปริมาณมลพิษอากาศที่ปนในอากาศโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมควบคุมมลพิษ จากข้อมูลการตรวจวัดนี่เอง ก็นำไปคำนวณเป็นค่าดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อแจ้งเตือนประชาชนว่าอากาศดีหรือไม่อย่างไร

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI) คืออะไร คำนวณอย่างไร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “PM2.5 กับ AQI”[1] และ “ค่า PM2.5 เดียวกันแต่ AQI แย้งกันเพราะ…”[2] ข้อมูลAQI เหล่านี้บอกให้เราทราบถึงคุณภาพอากาศบริเวณใกล้ๆกับที่ตั้งของแต่ละสถานีหรือแต่ละเขตนั่นเอง โดยระดับสีแบ่งเป็นห้าระดับ สีฟ้าคือคุณภาพอากาศดีมาก สีเขียวคือคุณภาพอากาศดี สีเหลืองคือคุณภาพอากาศปานกลาง สีส้มคือคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และสีแดงคือคุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ถ้าเราก็ดูจากค่าดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) ดังรูปที่(1) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ เราเห็นระดับสีเขียวหลายจุดในพื้นที่กทม. แต่พระพายก็ยังเปิดท้องฟ้าไม่หมดทีเดียว…

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568

ภายในงาน ท่านจะได้พบกับการบรรยายพิเศษ เรื่อง “จาก COP 29 สู่แนวทางการดำเนินงาน: ก้าวต่อไปของ SMEs ไทย” จาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประกาศความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้าน Climate Change ระหว่างหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ พร้อมรับฟังเสวนาทางวิชาการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” และร่วมเปิดตัวโครงการ CHULA LEARN DO SHARE PLUS ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ COP29 สู่แนวทางการดำเนินงาน: ก้าวต่อไปของ…

✨เปิดรับสมัคร✨เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “เสริมศักยภาพธุรกิจอาหาร: การประเมินคาร์บอนเพื่อความสำเร็จในยุคใหม่“

น่าสนใจอย่างไร? - ครอบคลุมการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ขององค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการลงมือปฏิบัติจริง - เรียนรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ และ AI Technology รวมศาสตร์ทั้งการจัดสรรทรัพยากรไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ - เหมาะสำหรับผู้ประกอบการในห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องการมุ่งสู่ธุรกิจสีเขียวและยั่งยืน - จัดอบรม 4 ครั้ง (มกราคม – มิถุนายน 2568) ทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite Training…

ในวันที่ 9 ธันวาคม 2567

ณ อาคารรัฐสภา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ได้แก่ รศ. ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล รศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ ผศ. ดร.ศรัณย์ เตชะเสน และ อ. ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ได้เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง “การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มีจุดประสงค์เพื่อ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ เข้าใจหลักการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดงานโดย คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ…

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ Zero Construction Wastes and Upcycling Products ร่วมกับ บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฤทธา จำกัด

. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) โดยนางสุนันทา สิ่งสรรเสริญ กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และนายมณเฑียร ยิ่งดำนุ่น กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ร่วมกับ บริษัท ฤทธา จำกัด โดยคุณปณิธาน เทพนิกร กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม และคุณเพชรรัตน์ เพชรดี กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.นภดนัย…

📢📢ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

📌️ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 📆ตั้งแต่วันนี้ - 8 มกราคม 2568 📋ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://careers.chula.ac.th/recruit/jobdetail/12466

‘ปูทางเท้า-วางท่อประปา-ปักเสาไฟ’ ทำอย่างไรให้เสร็จพร้อมกัน‘

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/blogs/health/social/1155667

ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมสัมมนา หัวข้อ “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด" ณ ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรประกอบด้วยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมของทางภาควิชา ได้แก่ รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน พร้อมด้วย อ.ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์…

ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ได้เข้าร่วมงาน The 22nd Conference on International Exchange of Professionals CIEP 2024 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ให้การต้อนรับคณะจาก

JAIMA (Japan Analytical Instruments Manufacturers’ Association), JEMIMA (Japan Electric Measuring Instruments Manufacturers’ Association) และ Fukuoka Institute of Health and Environmental Sciences ก่อนเข้าร่วมงาน Symposium on Environmental Pollution Control โดยมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการของศูนย์ความเป็นเลิศฯ…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา“ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด” ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

วิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อ.ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ รศ.ดร. ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการสารอันตรายและสิ่งแวดล้อม ดร.องอาจ ธเนศนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ทำความรู้จักและเข้าใจถึงสารประกอบ PFAS ให้มากขึ้น รวมไปถึงความอันตรายและระดับความรุนแรงของการปนเปื้อนในปัจจุบัน เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนทราบถึงปัญหา PFAS และกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งการออกข้อกำหนด…

Civil Cu Lunch & Learn Connect “Collaboration between two Departments: Civil Engineering x Environmental and Sustainable Engineering Department of Environmental Engineering, Chulalongkorn University

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จัดสัมมนา Civil Cu Lunch & Learn Connect "Collaboration between two Departments: Civil Engineering x Environmental and Sustainable Engineering โดยมี ศ.ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา กล่าวเปิดงานสัมมนา และรศ. ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กล่าวแนะนำอาจารย์ภาควิชา ที่เข้าร่วมสัมมนา…

น้ำท่วมบ้าน แต่อยู่ไกล ไม่มีน้ำกิน

เรามีคําตอบให้นะครับ โดย ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จินต์ อโณทัย ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยมติของกรรมการบริหารภาควิชาฯ เสนอชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ เพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ อาจารย์ด้านกิจการนิสิต ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทผู้บริหาร โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง และเป็นขวัญกำลังใจแก่อาจารย์ที่ปฏิบัติงานด้านกิจการนิสิตที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมทั่วไป

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ลิมปิยากร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ในโอกาสที่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติอนุมัติในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 886 วันที่ 25 เมษายน 2567 กำหนดตำแหน่งทางวิชาการเป็น “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (รอดำเนินการในขั้นตอนของการขอพระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป)

Faculty members of the Environmental Engineering Department attended the 29th Thailand-Korea Conference on Environmental Engineering, organized by KAIST, Chulalongkorn University and KSEE at Elysian Kangchon, Gangwon, Korea, from April 17th to 20th, 2024. Meanwhile, Mr. Tianchai Mungkhalad, our lab staff at the Aroon Sorathesn Center of Excellence on Environmental Engineering, received the Best Oral Presentation Award for his presentation titled ‘Occurrence of Microplastics During Drinking Water Production Process’.

วันที่ 25 เมษายน 2567

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี และ รองศาสตราจารย์ ดร.เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ ให้การต้อนรับ คณะครู และนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยการนำชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ พร้อมทั้งการแนะภาควิชา และ สาธิตการทดลองภายในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

📢 วันจันทร์ที่ 22 เม.ย. ห้ามพลาด ‼️‼️

🌳 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI เปิดเวทีเสวนา "บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? 📍 เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม นำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม และอดีตประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ มาล้อมวงถกประเด็นที่สังคมกำลังจับตาในการจัดการกากแคดเมียม เพื่อสะท้อนข้อมูล สถานการณ์ และปัญหาการจัดการกากแร่แคดเมียมที่เกิดขึ้น และร่วมเสนอมาตรการยกระดับการจัดการของเสียอันตรายในอนาคต ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉาย ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย…

📢📢ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

📌️ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 📆ตั้งแต่วันนี้ - 9 พฤษภาคม 2567 ✅️ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีศูนย์เครื่องมือวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อมระดับแนวหน้าของเอเชีย ✅️ Platform ทุนวิจัยจากจุฬาฯ - ทุน Postdoc C2F ทุนนิสิตปริญญาเอก C2F ทุนวิจัยอาจารย์ใหม่ ✅️ เทียบตำแหน่งวิชาการได้ ✅️ ใช้สิทธิบุตรเข้าเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้ถึงคนที่ 3 ✅️ มีประกันสุขภาพกลุ่ม…

📢📢ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

📌️ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 📆ตั้งแต่วันนี้ - 9 พฤษภาคม 2567 📋ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://careers.chula.ac.th/recruit/jobdetail/12035

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ภาควิชาฯ ดังต่อไปนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน

Mr. Aung Thit Htun, a master student from our department, Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, received “Best Presentation Award” at “5th Asia Conference on Renewable Energy and Environmental Engineering (AREEE 2024)”, 22-24 March, 2024, Singapore, organized by University of Macau as conference chair and National University of Singapore (NUS) as local chair. This award was achieved with the research on ”Effect of Co-existing Parameters on the Adsorption of perfluorooctanoic Acid (PFOA) on Activated Charcoal” under the guidance of Assoc. Prof. Dr. Dao Suwansang Janjaroen, Associated Professor from Department of Environmental Engineering as well as Director of International Program on Hazardous Substance Management,

Chulalongkorn University.

On March 23, 2024, Assoc. Prof. Dao S.Janjaroen, Ph.D. led researchers and graduate students from the Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering and International Program in Hazardous Substance and Environmental Management (IP-HSM), Chulalongkorn University to participate in the Mangrove Clean up at The Nature Education Center for Mangrove Conservation and Ecotourism, Chonburi Province. The activity is a collaboration between the Department of Marine and Coastal Resources, DENSO International Asia Co., Ltd, Green World Foundation, and Professor Aroon Sorathesn Center of Excellence in Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University and private sectors. This activity also follows the Sustainable Development Goals (SDGs) #goal13 #goal14 #goal15

Recap: Congratulations, Ms. Vannary Heang! one of three students, was awarded the Best Poster Award at the 1st IWA Sustainable Natural and Engineered Water Systems Management Conference 2023 on December 13th-16th, Bangkok Thailand, organized by the Department of Environment Engineering, Prof. Aroon Sorathesn Center of Excellence in Environmental Engineering and Center of Excellence on Hazardous Substance Management of Chulalongkorn University.

This honor reward was with the research on “Effect of microplastic and coagulant types for microplastic removal in leachate landfill by using Coagulation and Dissolved Air Flotation Process (DAF) “…

🌍 Climate Action ทุกคนมีส่วนสำคัญมากในการแก้ไขและรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

🎯 ผู้นำที่มุ่งมั่น กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน...ผู้ตามที่เข้าใจความสำคัญและนำแนวทางที่เหมาะสมมาใช้กับแต่ละท้องถิ่น แสวงหาร่วมมือกันและโอกาสความร่วมมือจากภาควิชาการ เอกชนและองค์กรต่างๆ เพื่อใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีมาส่งเสริมสนับสนุนให้ทำสร้างความก้าวหน้าในได้อย่างดี 💡ส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรที่ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้เน้นให้นิสิตได้เรียนรู้ และได้รับจากวิทยากรรับเชิญมาบรรยายและแชร์ประสบการณ์ในการทำงานขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการขยะชุมชนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของชุมชนท้องถิ่นของไทย สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย

ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ หัวข้อ "เรื่องที่วิศวกรสิ่งแวดล้อมควรรู้ แต่ยังไม่รู้" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ให้กับนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทำให้นิสิตได้รับความรู้ เกี่ยวการดำเนินงาน การทำงานในฐานะวิศวกรสิ่งแวดล้อม ในด้านมลพิษทางอากาศ น้ำ ขยะ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้มีการคิดวิเคราะห์ให้รอบคอบของการกระทำต่างๆ โดยอาศัยหลักการของการทำได้จริงประกอบ

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จัดพิธีทำบุญประปีใหม่ประจำปี 2567 เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ คณะผู้บริหารคณะฯ คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

วันที่ 4-7 มกราคม 2567

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้เปิดห้องปฏิบัติการ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายลานเกียร์ ครั้งที่ 22 ได้ทำความรู้จักกับภาควิชาฯ เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น เรียนเกี่ยวกับอะไร จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง รวมไปถึงให้น้องๆ นักเรียน ได้ทดลองทำปฏิบัติการบำบัดน้ำ ด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

📣📣 🇹🇭 L’Oréal Brandstorm 2024 เปิดรับสมัครแล้ว! 🇹🇭

ประชันไอเดียโจทย์นวัตกรรมเพื่อธุรกิจระดับโลก L’Oréal Brandstorm 2024 กับหัวข้อ “Reinvent the Future of Professional Beauty through Tech” ชิงโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทย ✈✈ ไปแข่งต่อที่เวทีระดับโลกในรอบ International Final ที่ ลอนดอน 🇬🇧 วันที่ 17 - 21 มิถุนายน 2567 . REGISTER NOW!…

Congratulations to Mr. Sithy Ny, a master student from Department of Environmental Engineering. He received a ‘Best Academic Presentation Award’ at The International Halal Science and Technology Conference 2023 (IHSATEC): 16th Halal Science Industry and Business (HASIB), Bangkok, Thailand on 2-3 December 2023. His research entitled “Removal of heavy metals from agricultural wastewater by forward osmosis process for water reuse” under Prof. Dr. Chavalit Ratanatamskul

ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการบริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษาของนิสิตปัจจุบัน วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ผู้บริจาคผ่านช่องทาง scan QR Code (e-Donation) สามารถนำยอดเงินบริจาคของท่านมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการบริจาค และสามารถตรวจสอบข้อมูลการบริจาคได้ตลอด 24 ชั่วโมง บนเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ e-Donation และระบบ My tax Account หรือที่ http://edonation.rd.go.th/donate/PageMain.jsp โดยเงินบริจาคทั้งหมดจะนำไปมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทั้งหมด และต้องขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย และวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ ประจำปี 2566 และร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Talk to Change “เปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลก ลดโลกเดือด” ณ โรงแรมเซ็นทารา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

ขอเชิญบุคลากร คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ ร่วมงาน ‘WINTER MARKET ตลาดนัดรวมใจ’

. ร่วมจับจ่าย สินค้าดี สินค้าราคาถูก แบ่งเบาภาระค่าครองชีพ กิจกรรมส่งต่อสินค้ามือสอง และประมูลของดีของเด่น (รายได้นำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม) . ‘WINTER MARKET ตลาดนัดรวมใจ’ ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 10.30-16.00 น. ณ สวนรวมใจ คณะวิศวฯ จุฬาฯ . กิจกรรมพิเศษ!! สำหรับผู้ที่ดาวน์โหลดและบันทึกข้อมูลใช้งานแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in…

The 1st IWA Sustainable Natural and Engineered Water Systems Management Conference 2023 was successfully organized during December 13th-16th, 2023 at Pathumwan Princess Hotel, Bangkok, Thailand by the Department of Environment Engineering, Prof. Aroon Sorathesn Center of Excellence in Environmental Engineering and Center of Excellence on Hazardous Substance Management of Chulalongkorn University. Many thanks to all organizing and scientific committee members and our sponsors: Gulf Energy Development Public Company Limited, IRPC Public Company Limited, PTT Public Company Limited, and Sci Spec Company Limited. We provided a platform that brings together more than 100 experts, researchers, and young water professionals from Korea, China, USA, Japan, Spain, India, Australia, UAE, Cambodia and Thailand to seek solutions and develop sustainable water management systems.

Looking ahead, the next IWA SWSM conference in Xi’an, China.

ผู้บริหาร คณาจารย์และนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และความยั่งยืน ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน…

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ ได้ให้การต้อนรับ คณะอาจารย์จาก College Of Engineering, Chung Yuan Christian University ไต้หวัน และคุณ Chen Wang, Section Chief of Environmental Management Administration, Ministry of Environment เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ในโอกาสที่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติอนุมัติในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 881 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 กำหนดตำแหน่งทางวิชาการเป็น “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (รอดำเนินการในขั้นตอนของการขอพระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป)

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานโครงการพัฒนาความมั่นคงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Smart Environmental Database Management Platform) โดยมี ดร.ฌัฐกฤตา รัตนเพียร นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการเมืองสร้างสรรค์ ผลักดันสู่เมืองอัจฉริยะ พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาภายใต้หัวข้อ “มุมมองการขับเคลื่อน SOFT POWER สู่เมืองแปดริ้ว” กับทาง รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา (รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์) ดร.อภิชาติบุตร รอดยัง (ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และคุณชฎิล ตู้จินดา (เลขานุการ คณะทำงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย) ที่จัดโดยทางคณะอนุทำงานด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart people) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา รศ.ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ นำคณะนิสิตในรายวิชาโครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภายใต้ capstone project เข้าร่วมทำกิจกรรมจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศทางทะเลอย่างมีส่วนร่วม บริเวณชายหาดวัดอัมพาราม ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นความร่วมมือของกรมทะเลชายฝั่ง บริษัท Denso International Asia มูลนิธิโลกสีเขียว และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาตราจารย์อรุณ สรเทศน์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงภาคีเครือข่ายฯ ภาคเอกชน ในการนี้คณะนิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในการจัดเก็บขยะ คัดแยกขยะ และบันทึกตามระบบ International Coastal Cleanup (ICC) ตลอดจนเรียนรู้ประโยชน์ของการคัดแยกขยะ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงผลกระทบของขยะทะเลต่อระบบนิเวศต่อไป

แพทย์จุฬาฯ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง HAUS IAQ และ RISC

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566: 08.00 น.: ห้องประชุม 209 ชั้น 2 อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา และทีมศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น…

สถานการณ์โอกาสและความท้าทาย ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมือง

โดย ดร.คณวัฒน์ เปาอินทร์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://drive.google.com/drive/folders/1xAexHDeA3EQ402NRIcyShuEq7Stmkuse?usp=sharing

31 ตุลาคม 2566

รองศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี นำนิสิตระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2107311 ชีววิทยาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัทสยามคราฟท์​อุตสาหกรรม​ จำกัด อ.บ้านโป่ง​ จังหวัด​ราชบุรี​ ซึ่งการทัศนศึกษา ณ สถานที่จริงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะช่วยให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาได้ดียิ่งขึ้น

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับสมัครนิสิตระดับปริญญาตรี รอบ 1 Portfolio ผ่านระบบ TCAS67 จำนวน 10 ที่นั่ง

ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://tcas.atc.chula.ac.th/ เว็บไซต์สำหรับทำ Portfolio อิเล็กทรอนิกส์ https://portfolio.eng.chula.ac.th/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-6333-6 หรือสามารถ Add line เพื่อขอคำแนะนำจากรุ่นพี่ได้ที่ https://lin.ee/w3KltRd

Mr.Aung Thit Htun, a master student in Department of Environmental Engineering, Chulalongkorn University has joined the “Introduction to Household Water Treatment and Safe Storage (HWTS) Workshop” organized by CAWST from 10-11 October 2023 in Chaingmai Province, Thailand.

On this workshop first day, he learned six steps multi-barrier approaches for treating and storage of water for household purpose. These includes 1. protecting the water source 2. transport the…

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ ที่ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการสารอันตรายและสิ่งแวดล้อม วาระการดำรงตำแหน่ง : 19 ต.ค.2566 - 18 ต.ค.2569

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ ศรีเจริญชัยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่มีผลงานติดอันดับ World's Top 2% Most-cited Scientists by Stanford University Ranking 2023 (Scopus) Career-long data are updated to end-of-2022